ได้รับเชิญออกวิทยุ FM 96.5 , FM 98 , FM 101 ประเด็น : CD Organizer ติดตั้ง พร้อม ผู้เชี่ยวชาญไปวางระบบ ฟรี

บทความ การบันทึกบัญชีรับรู้รายได้และรายจ่าย

ธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการที่เป็นกิจการบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีในแต่ละปี จะต้องมีการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล การคำนวณกำไรสุทธิจะต้องนำราย ได้หัก ออกจากรายจ่าย ซึ่งรายได้และรายจ่ายที่จะนำมาคำนวณกำไรสุทธิจะต้องมีการรับรู้รายได้ และรายจ่าย การรับรู้รายได้และรายจ่ายจึงเป็นการนำรายได้และรายจ่ายไปบันทึกบัญชีในรอบบัญชี นั้นและนำไปคำนวณกำไรสุทธิ การบันทึกบัญชีที่เกี่ยวกับรายได้ และรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการ ดำเนินงาน นักบัญชีจะต้องพิจารณาว่า เมื่อใดรายได้ และรายจ่ายได้ถือว่าเกิดขึ้นแล้วก็จะบันทึกบัญชีรับรู้เป็นราย ได้และรายจ่ายซึ่งแบ่ง วิธีการรับรู้รายได้และรายจ่าย โดยทั่วไปแล้วมีดังนี้คือ

1. เกณฑ์เงินสด (Cash Basic)กิจการที่รับรู้รายได้และรายจ่ายวิธีนี้เป็นการรับรู้รายได้และรายจ่ายเฉพาะ ส่วนที่กิจการได้ รับมาหรือจ่ายไปเป็นเงินสด หรือตราสารที่เป็นเงินสดเฉพาะส่วนที่กิจการได้รับมา หรือจ่ายไปแล้วเท่านั้น ในกรณีที่กิจการ ยังไม่ได้รับหรือจ่ายเงินจะไม่นำรายได้และราจ่ายนั้น มาบันทึกบัญชีรับรู้รายได้และรายจ่ายไม่ได้ แต่จะตั้งบัญชีพักไว้รอการตัดบัญชีเมื่อรายได้และรายจ่ายนั้น ถึงกำหนดและกิจการได้รับเงินหรือจ่ายเงินจึง จะรับรู้รายได้และ รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี

2. เกณฑ์สิทธิ (Accrual Basic)กิจการที่รับรู้รายได้และรายจ่ายวิธีนี้เป็นการรับรู้รายได้และรายจ่าย โดยการนำรายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้จะยังไม่ได้รับชำระหรือจ่ายเงินในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้หรือรายจ่ายใน รอบระยะเวลาบัญชีนั้น ดังนั้น รายได้และรายจ่ายเมื่อถึงกำหนดชำระแล้วหากยังไม่ได้รับหรือจ่ายเงินจะต้องบันทึก บัญชีไว้เป็นรายได้ค้างรับหรือรายจ่ายค้างจ่ายและต้องนำไปคำนวณกำไรสุทธิด้วย และในทำนองเดียวกันหาก รายได้ใด ได้รับล่วงหน้า หรือรายจ่ายใดได้จ่ายล่วงหน้าสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปซึ่งยังไม่ถึงกำหนด ก็จะไม่นำไปคำนวณ กำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุนในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ดังนั้น ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ได้ กำหนดให้ธุรกิจที่เป็น นิติบุคคล ทั่วไปรับรู้รายได้และรายจ่ายโดยเกณฑ์สิทธิ แต่จะมีธุรกิจบางประเภทอาจ จะไม่ คำนวณกำไรสุทธิหรือรับรู้รายได้และรายจ่ายโดยวิธีนี้ เนื่องจากเป็นธุรกิจเฉพาะที่แตกต่างจากธุรกิจทั่วไป ซึ่งกิจการบางประเภทอาจจะเลือกการรับรู้ รายได้ และรายจ่ายเกณฑ์สิทธิ์พิเศษที่แยกจากเกณฑ์สิทธิ์ของ กิจการ ทั่วไปได้ดังนี้

2.1 เกณฑ์ผ่อนชำระ (Installment Method)กิจการที่รับรู้รายได้และรายจ่ายวิธีนี้เป็นการรับรู้รายได้และรายจ่าย จากกิจการขายผ่อนชำระหรือให้เช่าซื้อที่มีระยะเวลา ในการผ่อนชำระเกินกว่าหนึ่งรอบระยะบัญชี ถือเอาผลต่างของราคาขายที่ควรจะได้รับทั้งสิ้นกับ ต้นทุนขายเป็นกำไร ขั้นต้นที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ ในขณะที่มีการขายผ่อนชำระหรือให้เช่าซื้อ การรับรู้รายได้และ รายจ่ายประเภทนี้ มักจะใช้กับกิจการที่กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนให้กับผู้ซื้อทันที จนกว่าผู้ซื้อจะชำระเงินค่างวดในงวดสุดท้ายเรียบร้อยแล้ว ซึ่งมักจะใช้กับธุรกิจให้เช่าซื้อ ขายโดยผ่อนชำระ ธุรกิจขายอสังหาริมทรัพย์ ขายสินค้าโดยการผ่อน ชำระหรือเช่าซื้อ อาจจะมีการคิดดอกเบี้ยจากการให้ลูกค้าผ่อนค่างวดเกินกว่า 1 ปี หรือแล้วแต่ได้ตกลงกัน การคำนวณดอกเบี้ยจากการเช่าซื้อมี 2 วิธีคือ
ก. วิธีคำนวณดอกเบี้ยเป็นรายได้แต่ละงวดตามวิธีรายปี (Annuity)
ข. วิธีการคำนวณดอกเบี้ยเป็นรายได้แต่ละงวดตามวิธีผลรวมจำนวนตัวเลข (Sum of the Digits)

2.2 เกณฑ์สัญญาระยะยาว (Long-Term Contract Method)
การรับรู้รายได้และรายจ่ายวิธีนี้เป็นการรับรู้รายได้และรายจ่าย สำหรับกิจการที่ให้บริการเกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี เช่น กิจการรับเหมาก่อสร้าง กิจการขายอสังหาริมทรัพย์ กิจการที่มีการรับจ้าง หรือให้บริการที่มีสัญญาในการว่าจ้างหรือบริการเกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี การรับรู้รายได้และรายจ่ายวิธีนี้สามารถรับรู้ได้ 2 วิธี คือ

2.2.1 รับรู้รายได้เมื่องานเสร็จตามสัญญา (Completed Contract Method) เป็นการรับรู้รายได้ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่องานก่อสร้าง แล้วเสร็จตามสัญญาและมีการโอนกรรมสิทธิ์เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะพิจารณาเงื่อนไขที่จะใช้วิธีนี้คือก. ระยะเวลาของโครงการต้องไม่เกิน 1 รอบระยะเวลาบัญชีข. งานก่อสร้างที่มีความเสี่ยงมาก

2.2.2 รับรู้รายได้ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ (Percentage of Completion Contract Method) เป็นการรับรู้รายได้ตามอัตราร้อยละของงานก่อสร้าง ที่แล้วเสร็จตามผลงานการก่อสร้างในแต่ละรอบบัญชี เป็นไปตามเงื่อนไขของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.1/2528 ซึ่งจะพิจารณาเงื่อนไขที่จะใช้วิธีนี้คือ
ก. ดำเนินการก่อสร้างตามแผนงานที่วางไว้
ข. มีความเป็นไปได้ของโครงการ
ค. ประเมินต้นทุนของโครงการได้เป็นระยะ
ง. มียอดเงินรับจากผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้างอย่างเพียงพอ
จ. ผู้ซื้อสามารถจ่ายชำระเงินได้ตามสัญญา
ฉ. ระยะเวลาของงานก่อสร้างเกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี

2.3 เกณฑ์เฉลี่ยรายได้ (Average Income Method)
กิจการที่รับรู้รายได้และรายจ่ายวิธีนี้ เป็นการรับรู้รายได้และรายจ่ายที่ใช้สำหรับกิจการให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งมีจำนวนเงินที่จ่ายมากในครั้งเดียว แต่ผู้เช่ามีระยะเวลาผูกพันสัญญาเช่าเกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี โดยจะทำการเฉลี่ยรายได้ดังกล่าว ตามอายุการเช่าของทรัพย์สินตามสัญญาเช่านั้น การใช้เกณฑ์เฉลี่ยรายได้ จะนำไปใช้กิจการที่มีระยะเวลาในการได้รับสิทธิ์ เช่น ค่าเซ้งอาคาร(สิทธิการเช่า) ค่าลิขสิทธิ์ ตลอดจนเรื่องของธุรกิจขายหรือรับสมัครสามชิก (Member) เช่น สมาชิกสนามกอล์ฟ สมาชิกกีฬา สมาชิกสโมสร สำหรับธุรกิจที่มีรายได้เป็นค่าสมาชิก นั้น ตามประมวลรัษฎากรได้กำหนด ให้เฉลี่ยรายได้ตามอายุของการ เป็นสมาชิก แต่ให้เฉลี่ยได้สูงสุด ไม่เกิน 10 ปี

3. เกณฑ์ผสม (Hybrid Method)
เป็นการรับรู้รายได้ สำหรับกิจการที่ทำธุรกิจหลายๆ ประเภทรวมกันซึ่งไม่สามารถรับรู้รายได้วิธีหนึ่งวิธีใดโดยเฉพาะ จึงต้องเลือกการรับรู้รายได้ตามความเหมาะสมของธุรกิจ

ที่มา : วารสารข่าวสำหรับนักบัญชี และ วารสาร ฉบับ เอกสารภาษีอากร สำนักพิมพ์ธรรมนิติ
www.dharmniti.co.th